ระบบกระดูก

ระบบกระดูก (the skeletal system) เป็นระบบที่ประกอบด้วย กระดูก กระดูกอ่อน ข้อต่อ และเอ็นเชื่อมกระดูก  กระดูกนับเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย  กระดูกในร่างกายมีรูปร่างต่าง ๆ กันแต่มีส่วนประกอบและความแข็งแรงทนทานเหมือน ๆ กัน  กระดูกแต่ละท่อนหรือแต่ละข้อจะเชื่อมต่อกันด้วยเอ็นเชื่อมกระดูกบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะช่วยให้กระดูกยืดหยุ่นและทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวก การบำรุงรักษากระดูกให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง และการฝึกหัดท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายทุกอิริยาบถให้ถูกต้อง  จะช่วยให้มีโครงร่างและบุคลิกภาพที่ดี




ลักษณะโครงกระดูกด้านหน้าและด้านหลัง


1.กระดูก
        กระดูก  (bone)  ในร่างกายเราระยะแรกจะเจริญในรูปของกระดูกอ่อน  เมื่อมีอายุมากขึ้นกระดูกอ่อนจะเปลี่ยนเป็นกระดูกที่แข็งแกร่งรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น  ยกเว้นบางส่วนที่ยังคงเป็นกระดูกอ่อน  เช่น  ใบหู  ปลายจมูก  หลอดลม  ในเด็กแรกเกิดจะมีกระดูกมากถึง 350 ชิ้น  เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่กระดูกบางส่วนจะเชื่อมติดกันเหลือเพียง  206  ชิ้น  ซึ่งสามารถจำแนกกระดูกเป็น  2  ส่วนใหญ่ๆ  คือ
          กระดูกแกน  (Axial skeleton) คือ กระดูกที่เป็นแกนกลางของลำตัวมีอยู่ 80 ชิ้น ประกอบด้วยกะโหลกศีรษะ 29 ชิ้น มีหน้าที่ห่อหุ้มและสมอง กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น เป็นส่วนของกระดูกแกนที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย และกระดูกทรวงอก ซึ่งประกอบด้วยกระดูกหน้าอก 1 ชิ้น และกระดูกซี่โครงอีก 12 คู่ ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยในการหายใจและป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะที่อยู่ภายใน เช่น ปอด หัวใจ และอวัยวะอื่น
          กระดูกรยางค์  (appendicle  skeleton)  คือ  กระดูกที่นอกเหนือไปจากกระดูกลำตัวมีอยู่ 126 ชิ้น  ประกอบด้วยกระดูกแขน  64  ชิ้น  กระดูกขา  62  ชิ้น  กระดูกแขนจะทำหน้าที่เป็นฐานเชื่อมโยงกับกระดูกส่วนอื่นๆ  ส่วนกระดูกขาซึ่งเป็นกระดูกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงมากจะทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย
  • ชนิดของกระดูก
          กระดูกคนเราจะมีลักษณะและรูปร่างต่างๆ กันไป แยกตามรูปร่างที่ปรากฏได้ 4 ชนิด คือ
          1. กระดูกยาว  (long  bones)  พบได้ที่กระดูกต้นแขน  แขนท่อนปลาย  ต้นขา  และขา  ฝ่ามือ  ฝ่าเท้า  นิ้วมือ  และนิ้วเท้า  เป็นกระดูกยาวขนาดเล็ก  ในส่วนลำของกระดูกยาวเรียงตัวกันเป็นรูปทรงกระบอก  ตรงกลางเป็นโพรง  ที่ขอบๆ  กระดูกเป็นเนื้อแน่นปลายของกระดูกยาวมักโตกว่าส่วนลำ  มีกระดูกเนื้อแน่นบางๆ  อยู่ที่ขอบ  ภายในเป็นกระดูกชิ้นเล็กๆ  ติดต่อกันคล้ายฟองน้ำเรียกว่า กระดูกพรุน กระดูกพรุนชนิดนี้มีไว้สำหรับรับน้ำหนักของร่างกายและเคลื่อนไหวมากกว่ากระดูกชิ้นอื่นๆ  ซึ่งมีทั้งหมด 90 ชิ้น
          2. กระดูกสั้น  (short  bones)  มีอยู่ตามร่างกายส่วนที่แข็งแรงสำหรับออกแรงเมื่อเวลาทำงานที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาก ได้แก่ กระดูกข้อมือ และข้อเท้า กระดูกเหล่านี้เป็นท่อนสั้นๆ ไม่มีส่นลำแต่จะมีกระดูกเนื้อแน่นบางๆ อยู่ที่ขอบภายในเป็นกระดูกฟองน้ำ กระดูกสั้นมีทั้งหมด 30 ชิ้น
          3. กระดูกแบน  (flat  bones)  มีลักษณะเป็นแผ่นแบนกว้างออกไป ประกอบด้วยกระดูกเนื้อแน่น 2 แผ่นเชื่อมติดกัน ภายในเป็นกระดูกพรุน กระดูกชนิดนี้จะช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับอันตรายง่าย ได้แก่ กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก กระดูกหน้าอกและกระดูกเชิงกราน กระดูกแบนมีทั้งหมด 40 ชิ้น
          4. กระดูกที่มีรูปร่างไม่แน่นอน (irregular bones) หรือมีรูปร่างแปลกๆ ได่แก่  กระดูกสันหลัง  กระดูกก้นกบ  กระดูกขากรรไกร  กระดูกโคนลิ้น  กระดูกหู  ฯลฯ  กระดูกชนิดนี้มีแง่  มีเหลี่ยมหรือช่องโค้งไปมามากเพื่อให้เหมาะกับการประกอบเข้าได้กับกระดูกชิ้นอื่นที่เป็นโครงร่างของร่างกาย  กระดูกชนิดนี้มีทั้งหมด  46  ชิ้น
  • การแบ่งกระดูกจากส่วนประกอบ
          การแบ่งกระดูกจากส่วนประกอบจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
          1.  ส่วนที่มีชีวิต  ได้แก่  เซลล์กระดูก  เนื้อเยื่อยึดเหนี่ยว  เนื้อเยื่อประสาท  และหลอดเลือดเป็นส่วนที่ทำให้กระดูกเหนียวแน่น  ทนทาน  ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย
          2.  ส่วนที่ไม่มีชีวิต  ได้แก่  สารประกอบพวกแคลเซียมคาร์บอเน็ต  และแคลเซียมฟอสเฟตแร่ธาตุเหล่านี้สามารถละลายไปสู่เลือดได้เมื่อร่างกายต้องการ  กระดูกจึงเป็นแหล่งสะสมธาตุแคลเซียมแร่ธาตุเหล่านี้เป็นส่วนที่ทำให้กระดูกแข็งแรง  ส่วนประกอบของกระดูกทั้งสองส่วนเมื่อประกอบกันเข้าจึงทำให้กระดูกของคนเราแข็งแรง  เหนียวแน่น  ทนทาน  ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย
  • ลักษณะของกระดูก
          กระดูกเกือบทุกชนิดในสัตว์หรือในตัวมนุษย์  มีลักษณะดังนี้
       1. ส่วนที่ถูไถกับกระดูกอื่นจะเป็นส่วนที่เรียกว่า  ด้านข้อต่อ  จะมีกระดูกอ่อนและน้ำไขข้อจะช่วยลดการเสียดของกระดูกขณะเคลื่อนไหว  ซึ่งทำให้กระดูกเคลื่อยไหวที่ข้อต่อได้สะดวก  ยกเว้นกระดูกแบนจะไม่มีกระดูกอ่อนคลุม  เช่น  กระดูกด้านบนของกะโหลกศีรษะ  ซึ่งมีขอบขรุขระ  และยึดกันด้วยพังผืด 
          2. ภายในท่อนกระดูก  หรือที่เรียกว่า  ส่วนลำของกระดูก  จะปรากฏลักษณะของเนื้อเยื่อกระดูก  2  ชนิด  คือ

ลักษณะภายในและภายนอกของกระดูก

              กระดูกทึบและกระดูกพรุนกระดูกทึบ(com-pact bone)เป็นส่วนที่ติดกับเยื้อเยื่อหุ้มกระดูก  ทำหน้าที่คล้ายฝาผนัง  มีความแข็งแรง  ช่วยในการพยุงรับน้ำหนัก  ลักษณะภายในจะเห็นเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้นๆมีช่องว่างตรงกลางวงเพื่อให้เส้นเลือดนำอาหารผ่านเข้าไปเลี้ยงเซลล์ได้
              กระดูกพรุน(spongy bone)เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกระดูกทึบเข้าไปช่องว่างอยู่มากคล้ายฟองน้ำ  เรียกช่องว่างนี้ว่า  โพรงกระดูก(medullary cavity)ภายในโพรงกระดูกจะมี  ไขกระดูก(morrow)บรรจุอยู่  ซึ่งไขกระดูกนี้จะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดต่างๆรวมทั้งเกล็ดเลือดให้กับร่างกาย
          3. ส่วนของกระดูกทั้งหมด  ยกเว้นด้านข้อต่อจะมีเยื่อบางๆห่อหุ้ม  เรียกว่า  เยื่อหุ้มกระดูก(bone covering)ระหว่างเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยว  และไขกระดูกก็จะมีเยื่อบางๆนี้บุคั่นไว้เช่นเดียวกัน  เยื่อนี้ทำหน้าที่สร้างเซลล์กระดูกใหม่เพื่อทดแทนเซลล์กระดูกส่วนที่ตายไปและเพิ่มเซลล์กระดูกให้มากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตของกระดูก  หรือซ่อมแซมในกรณีที่กระดูกหัก
2.กระดูกอ่อน
        กระดูกอ่อน (cartilage) จัดเป็นเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวชนิดนึง  ซึ่งสารระหว่างเซลล์เหนียวหนืดมีหน้าที่รองรับเนื้อเยื่ออ่อนๆและช่วยทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น  กระดูกอ่อนไม่แข็งแรงเท่ากระดูก  เพราะไม่มีแร่ธาตุ  แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่ากระดูก  มีเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนเช่นเดียวกับกระดูก
        กระดูกอ่อนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
        1.กระดูกอ่อนขาว  ปรากฏเป็นสีขาวปนสีน้ำเงิน  พบได้ที่ด้านข้อต่อของกระดูก  กระดูกอ่อนซี่โครง  กระดูกอ่อนออกเสียง  และกระดูกอ่อนหลอดลม
        2.กระดูกอ่อนยืดหยุ่น  สีค่อนข้างเหลือง  ยืดหยุ่นได้มาก  เพราะมีเส้นใยมาก  พบได้ที่กระดูกอ่อนใบหู  และฝาปิดกล่องเสียง
     3.กระดูกอ่อนผังพืด  มีเส้นใยผังพืดมาก  พบได้ที่หมอนรองกระดูกสันหลัง  และข้อต่อหัวหน่าว
3.ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก       
        ข้อต่อ (joint) เกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ใกล้กันมาเชื่อมหรือต่อกัน โดยมีเอ็นและกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรงให้แก่ข้อต่อ  ทำให้โครงกระดูกยืดหยุ่นส่วนต่างๆของร่างกายเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกเนื่องจากกระดูกที่มาต่อกันนั้นอยู่ในลักษณะต่างๆกัน  ข้อต่อต่างๆในร่างกายจึงแตกต่างกันทั้งรูปร่าง  ลักษณะและหน้าที่ทำให้แยกประเภทของข้อต่อได้ดังนี้
        1.ข่อต่อเอ็น เป็นข้อต่อที่ยึดกันด้วยเอ็นผังพืดขาว  ได้แก่  ข้อต่อระหว่างกระดูกกะโหลกศีรษะส่วนบน  ข้อต่อชนิดนี้จะไม่มีการเคลื่อนไหวเลย

ลักษณะของข้อต่อเอ็น

        2.ข้อต่อกระดูกอ่อน เป็นข้อต่อที่เชื่อมกันด้วยกระดูกอ่อนและมีเอ็นช่วยเสริมด้วยทำให้สามารถเคลื่อนไหวเล็กน้อย  ได้แก่  ข้อระหว่างกระดูกอ่อนซี่โครงซี่ที่  1  กับการกระดูกหน้าอกและข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลัง
        3.ข้อต่อซินโนวียล เป็นข้อต่อที่พบมากในร่างกายเรา ด้านข้อต่อของกระดูกคลุมด้วยกระดูกอ่อนขาวหรือกระดูกอ่อนพังผืดทำให้เคลื่อนไหวได้คล่อง มีเอ็นรอบข้อ ชั้นนอกเป็นเยื่อพังผืดสีขาว ชั้นในเป็นเยื่อซินโนเวียล ซึ่งเป็นที่สร้างน้ำไขข้อสำหรับช่วยในการหล่อลื่น เพราะกระดูกมีการเสียดสีอยู่เป็นเวลานาน และยังทำหน้าที่นำอาหารจากหลอดเลือดมาสู่กระดูกอ่อนที่คลุมปลายกระดูกด้วย
        ข้อต่อซินโนเวียลนี้มีโพรงข้อ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน และมีผลให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะที่แตกต่างกันด้วย ดังนี้
        1) ข้อที่เคลื่อนไหวได้ทิศทางเดียว เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อระหว่างกระดูกนิ้วมือและข้อต่อระหว่างกระดูกนิ้วเท้า และข้อต่อระหว่างนิ้วเท้า เคลื่อนไหวได้เพียงแต่งอเข้าหรือยืดออกเหมือนบานพับ
        2) ข้อที่เคลื่อนไหวได้สองทิศทาง คือ ข้อต่อที่กระดูกข้อมือต่อกับฝ่ามือของนิ้วมือของนิ้วหัวแม่มือมีลักษณะเหมือนอานม้า ซึ่งปลายกระดูกข้างหนึ่งเว้า และปลายกระดูกอีกข้างหนึ่งนูนรับกัน จึงเคลื่อนไหวได้ 2 แบบ คือ การงอเข้ายืดออก และการหมุน ซึ่งจะดำเนินไปพร้อมกันทำให้เราสามารถงอนิ้วหัวแม่มือมาสู่ฝ่ามือในการกำของได้

ลักษณะของข้อต่อซินโนเวียล

        3) ข้อที่เคลื่อนไหวหลายทิศทาง ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ลักษณะของข้อที่เชือมกันเกิดจากปลายกระดูกข้างหนึ่งมีหัวกลมเข้าไปในเบ้าของกระดูกอีกข้างหนึ่งมีลักษณะคล้ายลูกบอลทำให้เคลื่อนไหวได้ทุกทิศทางรวมทั้งการหมุนด้วย ซึ่งได้แก่ ข้อไหล่ ข้อสะโพก และลักษณะของข้อที่ทำให้กระดูกชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ไปรอบๆ แกนของกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง จะสวมกันอยู่คล้ายเดือยทำให้เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง เช่น กระดูกต้นคอ กระดูกสันหนัง
        ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในระบบกระดูกก็คือ เอ็นเชื่อมกระดูก (ligament) ซึ่งช่วยยึดกระดูกให้ต่อกันตรงข้อต่อ เอ็นเชื่อมกระดูกเป็นเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวที่มีความทนทาน แต่บางครั้งถ้ามีการบิดหรือดึงข้อตรงข้อแรงๆก็อาจทำให้ข้อเคล็ดได้
  • หน้าที่ของระบบกระดูก
          หน้าที่ของระบบกระดูก มีดังนี้
       1. เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักทำให้ร่างกายทรงรูปร่างอยู่ได้
       2. ช่วยยกและพยุงอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ลำไส้ มดลูก
       3. ป้องกันอวัยวะภายในร่างกายไม่ให้เป็นอันตรายเคลื่อนไหวได้
       4. เป็นที่เกาะยึดของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้
       5. เป็นแหล่งที่สร้างเม็ดเลือด เกล็ดเลือด และเก็บธาตุแคลเซียมของร่างกาย
  • การเจริญเติบโตของกระดูก
          กระดูกต่างๆ ในร่างกายของคนเรานั้น จะเริ่มเจริญเป็นกระดูกอ่อนตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่อคลอดออกมาและร่างกายเจริญเติบโตขึ้น กระดูกอ่อนจะค่อยๆ แข็งตัวขึ้น โดยรับเอาแร่ธาตุต่างๆ เข้าไปสะสมทำให้กระดูกแข็ง การเจริญเติบโตของกระดูกจะเริ่มที่จุดศูนย์กลางบริเวณตอนกลางของแกลนกระดูก แล้วขยายออกไปทั้ง 2 ข้าง ทำให้กระดูก ยืดยาวออกไป ในเพศชายการเจริญเติบโตของกระดูกจะมีมากในช่วงอายุระหว่าง 18-21 ปีโดยฮอร์โมนจากอัณฑะเป็นตัวกระตุ้น ส่วนในเพศหญิงจะมีมากในช่วงอายุระหว่าง 16-18 ปี โดยมีฮอร์โมนจากรังไข่เป็นตัวกระตุ้น และกระดูกจะเจริญจนถึงวัยประมาณ 25 ปี ก็จะหยุดการเจริญเติบโต

ลักษณะการเจริญเติบโตของกระดูก

  • การบำรุงรักษาระบบกระดูก
          กระดูกมีความสำคัญต่อร่างกายของเรามากมายดังได้กล่าวไปแล้ว  ดังนี้จึงควรบำรุงรักษากระดูกให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง  หากเราเริ่มดูแลกระดูกอย่างถูกวิธีตั้แต่วันนี้จะช่วยให้มีกระดูกที่แข็งแรงในช่วงวัยต่อๆไปของชีวิตในทางตรงกันข้ามหากเราไม่รู้จักถนอมดูแลแล้ว  เราก็อาจเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกและข้อต่างๆได้ เช่น  ข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ  รากประสาทถูกกดทับจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังในคนที่แบกของหนักอย่างผิดวิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น